วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิม



เกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิม
บนพื้นฐานของเกษตรแบบพอเพียง

          เฮียนฮู้จากของแต๊ เผยแพร่ฮื้อลูกหลาน คือ งานเกษตรบ้านเฮา (เรียนรู้จากของจริงเผยแพร่สู่ลูกหลาน คือ งานเกษตรบ้านเรา) ประโยคนี้ติดปากและอยู่ในความทรงจำส่วนลึกของใครหลายคนที่ได้เข้ามาสัมผัส และรับรู้เรื่องราวในการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ฯ ประจำตำบลร้องวัวแดง (ศูนย์เรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่วงเขียว ตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่) การศึกษาเรียนรู้วิถีทางเกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิม และอยู่บนพื้นฐานของเกษตรแบบพอเพียงให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้นั้น ต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจอย่างแท้จริง และทำจริงจึงจะสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับการเกษตรของตนเองได้อย่างเหมาะสมและเกิด ประโยชน์สูงสุด



พื้นที่ประมาณ10 ไร่ ได้กลายเป็นผืนดินในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่นำทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิมและอยู่บนพื้นฐานของเกษตรแบบพอเพียงเข้า มาปรับใช้อย่างเหมาะสม เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด ถูกจัดแบ่งเป็นพื้นที่การทำเกษตรในรูปแบบต่างๆ ตามอัตราส่วนร้อยละ ดังนี้
          พื้นที่สำหรับการทำนา 70 % (แบ่งเป็นการทำนาด้วยวิธีการโยนกล้า 40 % และการดำนา 30 %) และพื้นที่สำหรับการทำเกษตรแบบผสมผสาน อีก 30 % ถูกแบ่งย่อยออกเป็นพื้นที่ ปลูกพืชผักสวนครัว (5 %) อาทิเช่น ตะไคร้ ขิง ข่า ขมิ้น ชะอม มะนาว พริก มะเขือ ผักบุ้ง โหระพา กระเพราฯลฯ ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล ทั้งหลาย (4 %) เช่น มะม่วง ลำไย กล้วย มะละกอ ฯลฯ ขุดหนองเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ และเก็บน้ำไว้ใช้ในการทำเกษตร อีก 5 % เลี้ยงหมูหลุม (1 %) เลี้ยงวัวเนื้อ (1 %) เลี้ยงไก่เนื้อ (1 %) ทำน้ำส้มควันไม้ (1 %) ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ( 2 %) ทำบ่อก๊าซชีวภาพ (2 %) เพาะเห็ดนางฟ้า (2 %) ทดลองความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ (2 %) เช่น เลี้ยงไส้เดือนดิน ฯลฯ เป็นพื้นที่แห่งความสุขไว้พักผ่อนหย่อนใจและมีกระท่อมเล็กๆ เพื่อใช้ประชุมกับทีมงานอีก (4 %) ซึ่งถือว่าพื้นที่ทั้งหมดนี้ได้ถูกจัดสรรปันส่วนอย่างชัดเจนและเป็นไปตามความเหมาะสมที่ทางสมาชิกทุกคนได้ร่วมกันกำหนดไว้  อ่านต่อ......