วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องมีความพอดี


การใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะต้องมีความพอดี 
๔ ประการคือ
   
                                  
ความพอดีด้านจิตใจ
- ต้องเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้
- มีจิตสำนึกที่ดี
- เอื้ออาทร ประนีประนอม
- นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

ความพอดีด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
- รู้จักใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ
- เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด

ความพอดีด้านเทคโนโลยี
- รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม
- พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน
- ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก

ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
- เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร
- พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน





เศรษฐกิจพอเพียงฐานรากการสร้างชีวิตเป็นสุข

                         

                  
เศรษฐกิจพอเพียง   คือ พระราชปรัชญาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย   เพื่อให้สังคมไทยมีชีวิตดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์  หรือ  การเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนพื้นฐานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยนำมาประยุกต์ใช้

  "ความพอเพียง"  หมายถึง ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง  ทั้ง ทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี   โดย อาศัยความรอบรู้    รอบคอบ    และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ     มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน      ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ ให้สำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล

 โดยที่ความพอประมาณนั้น หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ  ความมีเหตุผล  หมายถึง   การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของพอเพียงนั้น จะ ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล   โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

กลอนเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวิต

เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวิต                   ตามแนวคิดนำร่องของพ่อหลวง
     ทรงเป็นดั่งร่มไทรไทยทั้งปวง                   พระทรงห่วงชาวประชาข้าบาทไทย
ทรงชี้นำแนวทางสร้างอาชีพ                     ดุจประทีปส่องทางสว่างไสว
ตามวิถีแปรเปลี่ยนเวียนหมุนไป                ของโลกในปัจจุบันที่ผันแปร
รู้จักเดินสายกลางทางชีวิต                        ไม่ยึดติดจิตใจให้แน่วแน่
พึ่งตนเองก่อนจะให้ใครดูแล                     จึงจักแก้ปัญหาอย่าท้อใจ
ความพอเพียงเพียงพอที่พ่อสอน              ล้วนสะท้อนภูมิปัญญาล้ำค่าได้
    พลิกชีวิตที่ลำบากยากเข็ญใจ                     หากเราใช้ความพอเพียงเพื่อเลี้ยงตน
ทรัพยากรมากมายมีหลายหลาก                ที่เกิดจากธรรมชาติไม่ขัดสน
รู้จักกินรู้จักใช้ไม่อับจน                              ประมาณตนไว้เถิดเกิดผลดี
ไม่ดิ้นรนขวนขวายให้เป็นทุกข์                 แค่เราสุขแบบพอเพียงเยี่ยงวันนี้
ตั้งมั่นในคุณธรรมนำชีวี                              สมกับที่องค์พ่อหลวงทรงห่วงใย.

Header

บุคคลตัวอย่างดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง


นายจันทร์ที   ประทุมภา


ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2554
สาขา  ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง

นายจันทร์ที   ประทุมภา  อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
อาชีพ  เกษตรกรรม 
อายุ  73 ปี
ที่อยู่  บ้านเลขที่  138 บ้านโนนรัง ม.6 ต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา  

ผลงานดีเด่น
1.เป็นบุคคลที่นำความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้กับตนเองจนประสบความสำเร็จแล้ว
2.แปลงเกษตรแบบประณีตในพื้นที่ 1 ไร่



                                    นายผาย สร้อยสระกลาง 


ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2553

นายผาย สร้อยสระกลาง
อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
อายุ 80 ปี
อาชีพ เกษตรกรรม
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 158 หมู่ที่ 1 บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
 
ผลงานดีเด่น
     · รวมกับครูบาคำเดื่อง และครูบาสุทธินันท์ ตั้งโรงเรียนชุมชนอีสาน เพื่อแสดงบทบาทและทำหน้าที่เป็นสถาบันประสานงานเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนในท้องถิ่นโดยเฉพาะภาคอีสาน
     · จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย




วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ชีวิตที่พอเพียงของเศรษฐีอันดับโลก


        รู้ไหมว่าในโลกนี้มีชายแก่คนหนึ่งที่ร่ำรวยมากจนติดอันดับโลก แต่เขากลับดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย
อยู่ในบ้านหลังเล็กๆขนาด 3 ห้องนอนที่ซื้อมาตั้งแต่ห้าสิบปีก่อน เป็นคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ 
ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน ไม่มีคนขับรถ  แต่ยังขับรถคันเก่าไปไหนมาไหนเอง  
การพักผ่อนของเขาคือทำข้าวโพดคั่วกินเอง และนอนดูโทรทัศน์ 

เขาไม่ใช่คนขี้เหนียว  เพราะเขาบริจาคเงินให้องค์กรการกุศลเป็นเงินถึงสามหมื่นล้านดอลลาร์  
และนับเป็นเงินบริจาคที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
ชายแก่คนนี้ชื่อนายวอร์เรนบัพเฟตต์ปัจจุบันอายุเกือบ 80 1.8 ล้านล้านบาท และเคยครองแชมป์เศรษฐีมหาจานีนยโสรองชนะเลิศอันดับ 2 ของโลกนานถึง 4 ปีติดต่อกัน 

สมัยที่ติดต่อคุณปู่จานีนยโสเด็ ด.ช. วอร์เรนบัฟเฟตต์รู้จักลงทุนซื้อหุ้นตั้งแต่อายุ 11 ขวบ
พออายุ 14 ปีเขาได้ลงทุนซื้อที่ดิน 40 ด.ช. วอร์เรนบัฟเฟตต์

ในภาคปีพ.ศ. 2549 หนึ่งแสนเหรียญ บัพเฟตต์บอกว่า พยาบาลที่ดีที่สุด เขาบอกว่า "จะซื้อบ้านใหม่ทำไมกัน การย้ายบ้านเพียงเพื่อให้สมฐานะ คนที่อยากมีเหมือนคนอื่น คนรวยเช่นนายวอร์เรนบัฟเฟตต์ 


วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556


นิทานแผ่นดิน ศรัทธาแห่งความพอเพียง

นิเวศศิลป์ นิทานแผ่นดิน ตอนที่ 8 ชิ้นงานศิลปะที่ออกแบบโดย "อ.ไพโรจน์ วังบอน" ที่เป็นทั้งงานศิลปะ

และการรักษาสภาพแวดล้อมไปในเวลาเดียวกัน ด้วยการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ที่มีความเป็นมาน่า

สนใจอย่างชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด ที่อดีตรัฐเคยออกสัมปทานทับพื้นที่ป่าชุมชนจนนายทุนเข้า

มารุกล้ำตัดป่าเพื่อทำนากุ้ง ทำให้เกิดการล่มสลายทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม



มาฟังแนวคิด วิธีการของคนในชุมชนในการฟื้นฟูป่าและปรัชญาในการดำรงชีวิตร่วมกับธรรมชาติ และ

การสร้างงานศิลปะร่วมกับเด็กๆในชุมชน 

ภายใต้แนวคิด "ทรัพย์ในดินงอกงาม สินในน้ำล้ำค่า อนุบาลเผ่าพันธุ์ปลา รักษาป่าชายเลน"

นิทานแผ่นดิน รายการกึ่งเรียลลิตี้ที่จะพาผู้ชมไปติดตาม เบื้องหลัง ที่มา และแนวคิด ก่อนจะรังสรรค์ผล

งานนิเวศน์ศิลป์ขนาดใหญ่ใน 9 จังหวัดของประเทศไทยอันสวยงามวิจิตร เพื่อเผยแพร่ถึงพระ

มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อประเทศไทยและประชาชนชาวไทย โดย 9 

ศิลปินระดับชาติ
นิทานเศรษฐกิจพอเพียง

                        

เรื่อง หมู่บ้านเห็ดหอม

ยังมีหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง ชื่อว่าหมู่บ้านเห็ดหอม      
ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเพาะเห็ดหอม  และเห็ดอื่นๆอีกมากมาย  
ชุมชนเห็ดหอมอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน  มีกินมีใช้ไม่ขัดสน

วันหนึ่งมีพ่อค้าจากต่างแดนนำเอาของวิเศษ
เข้ามาเสนอขายในราคาแสนแพง


ของสิ่งนั้นเอาไว้ติดต่อพูดคุยกันโดยไม่ต้องเห็นหน้า 
และจะพกไปไหนมาไหนก็สะดวก


ครอบครัวนายเหมือน  ภรรยาชื่อนางมั่ง  ลูกสาวชื่อหนูมี  
ก็อยากได้ของวิเศษไว้ใช้  แต่เพราะรายได้น้อย 
จึงยอมเป็นหนี้เพื่อให้ได้ของวิเศษมาใช้

สองผัวเมีย  และลูกไม่เป็นอันทำงาน   
ได้แต่เดินอวด  พูดโชว์ ไปวันๆ

เห็ดที่เพาะไว้ถูกทอดทิ้ง  เหี่ยวเฉา  


รายได้ก็ไม่มี  ค่าพูดก็ต้องจ่าย  เงินทองที่สะสมไว้เริ่มร่อยหรอ    
ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาเพิ่ม


ฝ่ายหนูมีผู้เป็นลูกสาว  ตั้งแต่มีของวิเศษก็กลายเป็นดาวเด่น  
เป็นที่สนใจของชายหนุ่ม  เพราะต่างก็มีของวิเศษ
เอาไว้เกี้ยวพาราสี  จนไม่เป็นอันเรียนหนังสือ 

 เมื่อเอาแต่ใช้จ่าย   เงินที่มีอยู่ก็ลดน้อยลง
รายได้ก็ไม่มี  แต่ค่าใช้จ่ายกลับเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
เมื่อไม่สามารถหาเงินมาใช้หนี้   สมบัติที่มีอยู่ก็ถูกยึด
ทั้งบ้าน  และฟาร์มเห็ด  ก็ไม่เหลืออีกแล้ว

ครอบครัวนายอู้ฟู่  ครอบครัวนายระเริง  
และอีกหลายบ้านที่ยอมเป็นหนี้เพื่อซื้อของวิเศษที่เกินความจำเป็น
ทั้งๆที่กว่าจะได้เงินมาต้องปลูกเห็ด  ขายเห็ดจำนวนมาก
ทำให้ ค ร อ บ ค รั ว เกิด ปั ญ ห า
เมื่อหลายๆครอบครัวมีปัญหา  หมู่บ้านก็มีปัญหา
และก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ  เพราะรากฐานถูกทำลาย

ข้อคิดจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : 
ครอบครัวนายเหมือน มั่ง มี 
ไม่รู้จักประมาณตน (ซื้อของมาใช้ทั้งๆที่มีไม่ได้ประโยชน์)
ไม่ใช้เหตุผลในการพิจารณา

ขาด เงื่อนไขความรอบคอบ ในการใช้จ่าย
และขาดภูมิคุ้มกัน (ไม่ออมเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น)
ทำให้ครัวครัวเดือดร้อน